เมื่อเทคโนโลยี คือทางออกเดียว ของสังคมผู้สูงอายุ
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2018 ผมมีโอกาสได้รับเชิญมาร่วมงาน GIES 2018 – Gerontech and Innovation Expo cum Summit งานนี้ถูกจัดโดยการผลักดันของรัฐบาลฮ่องกง เนื่องจากมองเห็นว่าปัญหาสังคมผู้สูงอายุคือความท้าทายใหญ่ในอนาคตอันใกล้นี้
ใน Keynote session แรกนั้นบรรยายโดย Dr. Chi-Kwong Law ซึ่งดำรงตำแหน่ง Secretary for labour and Welfare ของรัฐบาลฮ่องกง
โดยได้บรรยายในหัวข้อ “นโยบายของรัฐที่ช่วยสนับสนุนนวัตกรรมด้านผู้สูงอายุ” โดยเขาได้ยกสถิติที่น่าสนใจคือ
- Dr.Law บอกว่าเราควรนิยามผู้สูงอายุ โดยคุยกันที่ตัวเลข 85 จะดีกว่า เพราะ 60-80 จริงๆแล้วยังถือว่าแข็งแรง เขาเองก็จะ 60 แล้วเลยไม่อยากถูกเรียกว่า สว เช่นกัน (หัวเราะ คลืนทั้งห้อง)
- ข้อมูล 2017 ฮ่องกงมีประชากรที่อายุมากกว่า 85 อยู่ 183,100 และจะเพิ่มเป็น 695,656 ในปี 2047 ( 3.8 เท่า) และ 770,039 ในปี 2066 (4.2 เท่า)
- ผู้ดูแลที่มีในฮ่องกงตอนนี้ มีไม่ถึง 50% ของความต้องการ
- อายุของผู้ดูแลของเฉลี่ยก็คือมากกว่า 50 ปีอีกด้วย ซึ่งหมายถึง ผู้ดูแลเอง ก็อีกไม่กี่ปีก็กลายเป็นผู้รับการดูแลแทน
- จำนวนผู้ดูแลจะเพิ่มได้สูงสุดที่ปี 2020 จากนั้นจะลดลงเรื่อยๆ
Dr.Law พูดว่านี่เป็นปัญหาที่เราต้องหาทางจัดการ ฮ่องกงนั้นมีข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่อีกด้วย (ฮ่องกงถือว่ามีค่าเช่าแพงเกือบที่สุด ประเทศหนึ่งในโลกทีเดียว ) ดังนั้นการจะสร้าง Resiential care building ก็เป็นข้อจำกัด

5 นโยบายสำคัญ
ดังนั้นนโยบายของฮ่องกงตอนนี้ในการรับมือกับสังคมผู้สูงอายุคือ
- ลดภาวะพึ่งพิงของผู้สูงอายุ หรือยืดให้แข็งแรงออกไปให้ได้นานที่สุด อันนี้ก็เป็นเรื่องของ Health promotion ต่างๆ (ซึ่งพูดง่าย แต่ทำไม่ง่ายครับ คล้ายๆลดน้ำหนักนะครับ)
- ทำให้อาชีพผู้ดูแลน่าดึงดูดมากขึ้น เพราะเราทุกคนรู้ว่าอาชีพนี้คืออาชีพที่สำคัญสำหรับสังคมสูงอายุ ดังนั้นภาครัฐต้องออกมาช่วยสนันสนุนให้เต็มที่ ซึ่งพวกเราทีม Health at home ก็ยึดมั่นในหลักการนี้เช่นกัน เพราะผมเองก็เชื่อว่าถ้าเราไม่สร้างระบบให้อาชีพนี้ได้รับการยอมรับ อีกหน่อยใครจะอยากมาทำ เพราะมันใช้ทั้งทักษะและใจรักอีกด้วย
- ระบบอบรมทักษะการดูแล ไม่ใช่สำหรับผู้ดูแลเท่านั้น แต่สำหรับทุกๆคน ทั้งคนในครอบครัว หรืออาสาสมัคร เพราะโลกยุคหน้าทุกคนก็คือผู้สูงอายุทั้งนั้น
- นำเข้าแรงงงาน จากต่างประเทศ เพราะฮ่องกงรู้ว่าประชากรในประเทศไม่เพียงพอ จึงต้องดึงดูดผู้ดูแลจากต่างชาติเข้ามาทำงาน ซึ่งรัฐก็ต้องสนับสนุนให้การเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นไปได้อย่างสะดวก ซึ่งถ้าว่าไปแล้วนี่ก็ไม่ใช่นโยบายที่แปลกใหม่ อย่างประเทศญี่ปุ่นก็มี Campaign นำเข้าผู้ดูแลจากเวียดนาม และ ฟิลิปปินส์ โดยมีการเรียนภาษาญี่ปุ่นก่อนด้วย
- การพัฒนาเทคโนโลยีด้านผู้สูงอายุ ( Development of Gerontology )
ซึ่งผมอาจจะขอเน้นเรื่องนี้เป็นพิเศษ เพราะ Dr.Law และผู้บรรยายในเกือบทุก Session พูดในแนวทางเดียวกันว่า
ซึ่งผมคิดว่านี่คือประเด็นที่เราทุกคนก็ควรใส่ใจเช่นกัน เพราะเมื่อ Resource ด้านคนมีจำกัด ด้านพื้นที่มีจำกัด สิ่งเดียวที่ทลายข้อจำกัดได้คือ Technology
แต่การพูดว่าให้ใส่ใจ Technology กับการทำให้ Technology ให้ใช้ได้จริงนั้น เป็นประโยคที่คล้ายๆกัน แต่ความยากนั้นต่างกันลิบลับ แน่นอนเหมือนกับคนที่อยากลดความอ้วน กับคนที่ลดได้จริงๆ
ปัญหาในการพัฒนาเทคโนโลยีผู้สูงอายุของฮ่องกง (Gerontech)
Dr.Law ได้พูดต่อว่าแต่ Gerontech นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ฮ่องกงเองมีข้อจำกัดหลายอย่าง
- “7 Million is too small”
ประชากรฮ่องกงมีเพียงเจ็ดล้านคนซึ่งถือว่าตลาดเล็กเกินไปในการพัฒนานวัตกรรม แต่เขาบอกว่ารัฐบาลจึงแก้เกมโดยการจับมือกับประเทศใกล้เคียง เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ในการร่วมลงทุนพัฒนาด้วยกัน - Adoption is an issue
การลงทุนส่วนใหญ่นั้น มักอยากให้เกิด Product ขึ้นซึ่งรัฐบาลก็มักจะสนับสนุนทุนแค่นั้น แต่นวัตกรรมผู้สูงอายุนั้นมี Adoption rate ที่ต่ำมาก ถ้ารัฐอยากช่วยจริงๆนั้นการสนับสนุนต้องเตรียมทุนไม่ใช่แค่เพียงสร้างของเท่านั้น แต่ต้องมีค่า Maintainance และ Adoption cost ด้วย => โดยส่วนตัวอันนี้ผมคิดว่าบางทีมันอาจไม่ได้ผิดที่ไม่มีคน support แต่มันอาจจะเป็นตัว Product เองที่ไม่ได้ตอบโจทย์ของผู้ใช้ก็เป็นได้ - Funding is not enough
การที่รัฐบาลช่วยให้แต่เงินทุนอย่างเดียวไม่เพียงพอ แต่ต้องลงไปช่วยผลักดันกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆที่มาทำให้เกิดข้อจำกัดมากเกินไป จนนวัตกรรมไม่เบ่งบาน (คิดว่าคงเป็นปัญหาที่มีทั่วโลก)
ก่อนจบการบรรยาย Dr.Law ได้พูดทิ้งท้ายไว้ ซึ่งผมถูกใจมาก และคิดว่าน่าจะเป็นใจความสำคัญของงาน GIES อีกด้วยนั่นคือ
The Development and use of Gerontech is “Not” and option It is a “MUST“
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์นะครับ ไม่ว่าท่านผู้อ่านอยู่ในบทบาทไหน จะเป็นผู้ออกนโยบาย ผู้ประกอบการ ผู้ดูแล หรือเป็นผู้สูงอายุ ก็อยากให้มาช่วยกันคนละไม้ คนละมือในการเตรียมตั้งรับสู่สังคมผู้สูงอายุด้วยกันนะครับ