ป้องกันปอดอักเสบด้วยการดูดเสมหะอย่างถูกวิธี
การดูแลผู้สูงอายุติดเตียง ผู้ที่มีปัญหาทางเดินหายใจ หรือการกลืน การดูแลที่สำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยง และป้องกันการสำลัก ลดปัญหาเรื่องการติดเชื้อ คือการดูดเสมหะเพื่อระบายน้ำลาย และเสมหะช่วยให้ทางเดินหายใจโล่ง แต่ด้วยในการดูดเสมหะอาจเกิดภาวะเสี่ยงต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็นการเกิดการขาดออกซิเจน เนื้อเยื่อขาดออกซิเจน ปอดแฟบ และเกิดการบาดเจ็บของทางเดินหายใจได้ ซึ่งเทคนิคที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันภาวะเหล่านี้ได้
การดูดเสมหะทางปาก
วิธีปฏิบัติ - เตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างให้พร้อม และทดสอบแรงดันของเครื่องดูดเสมหะ
- ล้างมือให้สะอาด
- บอกให้ผู้สูงอายุรับทราบ
- ใส่ถุงมือตรวจโรค หยิบสายดูดเสมหะต่อเข้ากับเครื่อง โดยมือข้างถนัดจับปลายสาย และอีกข้างจับสายระบายเสมหะ ระวังไม่ให้สายยางดูดเสมหะสกปรก หรือสัมผัสกับสิ่งอื่นๆ
- เปิดเครื่องดูดเสมหะ บอกให้ผู้สูงอายุทราบอีกครั้ง
- เปิดบริเวณข้อต่อตัววาย (Y - tube) หรือพับสายยางดูดเสมหะนั้นไว้ พร้อมสอดสายยางเข้าช่องปาก ด้วยความนุ่มนวล
- ในขณะดูดเสมหะไม่ควรดูดนาน แล้วค่อยๆถอยสายยางดูดเสมหะออกอย่างเบาๆและนุ่มนวล ให้มีช่วงจังหวะหยุดพักให้ผู้สูงอายุได้หายใจหรือได้รับออกซิเจน
- ระหว่างดูดเสมหะให้สังเกตลักษณะของเสมหะ สี ปริมาณ รวมทั้งสังเกตดูว่ามีสีเลือดปนหรือไม่ สังเกตการหายใจ และสีผิวของผู้สูงอายุ
- หากผู้สูงอายุเกร็ง หรือมีฟันในช่องปาก สามารถใช้ mouth gag โดยสอดเข้าช่องปากเพื่อนำทางสายยางดูดเสมหะได้ง่าย
(ขั้นตอนการใส่ mouth gag)
- เมื่อดูดเสมหะเรียบร้อยจ ล้างสายยางดูดเสมหะในน้ำสำหรับล้างสาย แล้วเก็บสายยางดูดเสมหะและถุงมือทิ้งถังขยะ
- ปิดเครื่องดูดเสมหะ
- จัดท่าผู้สูงอายุให้สุขสบาย สังเกตลักษณะของสีผิว อัตราการหายใจ และอัตราการเต้นชีพจรของผู้สูงอายุ
การดูดเสมหะทางหลอดทางเดินหายใจเทียม (Tracheostomy Tube)
วิธีปฏิบัติ - เตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างให้พร้อม แจ้งให้ผู้สูงอายุทราบ กรณีมีเสมหะมากให้ดูแลเคาะปอดเพื่อไล่เสมหะโดยจัดท่าผู้สูงอายุตะแคงกึ่งคว่ำ
- ล้างมือให้สะอาด
- ใส่ถุงมือให้ใช้เป็นแบบถุงมือสเตอไรด์ ระวังไม่ให้สายยางดูดเสมหะสกปรก หรือสัมผัสกับสิ่งอื่นๆ โดยมืออีกข้างจับสายระบายเสมหะ
(การใส่ถุงมือสเตอไรด์)
- เปิดเครื่องดูดเสมหะ บอกให้ผู้สูงอายุทราบอีกครั้ง
- เปิดบริเวณข้อต่อตัววาย (Y - tube) หรือพับสายยางดูดเสมหะนั้นไว้ พร้อมสอดสายยางลงในหลอดหายใจเทียม โดยใส่ให้ลึกจนรู้สึกติด และดึงขึ้นมาเล็กน้อยค่อยๆหมุนสายไปรอบๆ แล้วค่อยๆถอยสายยางดูดเสมหะออกอย่างเบาๆและนุ่มนวล
(การดูดเสมหะ)
- การดูดเสมหะแต่ละครั้งไม่เกิน 10 วินาที เมื่อดูดเสมหะครั้งที่ 1 แล้ว ผู้สูงอายุยังมีเสียงเสมหะอยู่ ให้ผู้สูงอายุหายใจเข้าออกประมาณ 10 วินาที หรือในผู้สูงอายุที่ได้รับออกซิเจน แล้วดูดเสมหะอีกครั้ง
- ในกรณีที่ผู้สูงอายุมีการเจาะคอ ควรดูดเสมหะจากหลอดทางเดินหายใจเทียมก่อน แล้วจึงดูดเสมหะในปากต่อ
- เมื่อดูดเสมหะเรียบร้อยจนทางเดินหายใจโล่ง ล้างสายยางดูดเสมหะในน้ำสำหรับล้างสาย แล้วเก็บสายยางดูดเสมหะและถุงมือทิ้งถังขยะ
- ปิดเครื่องดูดเสมหะ
- จัดท่าผู้สูงอายุให้สุขสบาย สังเกตลักษณะของสีผิว อัตราการหายใจ และอัตราการเต้นชีพจรของผู้สูงอายุ
ข้อควรระวัง
- แรงดันของเครื่องดูดเสมหะที่ใช้ในการดูดเสมหะค่าที่เหมาะสม ประมาณ 80-150 มิลลิเมตรปรอท ถ้าสูงกว่านี้จะทำให้ปอดแฟบ เนื้อเยื่อขาดออกซิเจน อาจเกิดการบาดเจ็บของเยื่อบุทางเดินหายใจได้
- ดูดเสมหะเมื่อจำเป็น คือ ทำเมื่อมีอาการไอ หายใจลำบาก หายใจมีเสียงเสมหะ ความเข้มข้นของออกซิเจนต่ำกะทันหัน
- กรณีเสมหะไม่มาก หรือต้องการดูน้ำลายอย่างเดียวอาจจะใช้หลอดดูดน้ำลายแทนสายดูดเสมหะ
(หลอดดูดน้ำลาย)
- การเพิ่มออกซิเจนให้กับผู้สูงอายุ ก่อนและหลังการดูดเสมหะ เนื่องจากในขณะดูดเสมหะจะก่อให้เกิดภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน
- เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุขณะดูดเสมหะ เช่น การเต้นของหัวใจ อาการซีด หอบเหนื่อย ความเข้มข้นของออกซิเจน เป็นต้น
สรุป
การดูแลผู้ป่วยติดเตียง เป้าหมายในการดูแลไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน การลด
ความเจ็บปวด ส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง โดยโรคที่พบบ่อยมากคือระบบทางเดิน
หายใจล้มเหลว การสำลัก ซึ่งการให้การพยาบาลที่สำคัญคือการดูดเสมหะเพื่อช่วย
ระบายเสมหะที่คั่งค้าง ช่วยให้หายใจได้สะดวก แต่หากผู้ดูแลปฏิบัติไม่ถูกต้อง ไม่สะอาด
อาจจะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าเช่น เป็นแผลจากการดูดแรง ขาดออกซิเจนจากการ
ดูดนานเกินไป เป็นต้น ดังนั้นบทความนี้จะช่วยให้ท่านเรียนรู้วิธีการอย่างถูกต้อง และ
สามารถศึกษาเพิ่มเติมจาก Youtube: Health at Home หรือหากสนใจสมัครเข้าเรียน
สามารถแอดไลน์มาคุยกันได้ที่ @carepro