Health at Home

ศูนย์บริการส่งคนดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยให้คุณถึงที่บ้าน รายวัน รายเดือน ในกรุงเทพและต่างจังหวัด | ผู้ดูแลผ่านการตรวจสอบทักษะในการดูแล และผ่านการตรวจสอบประวัติอาชญกรรม | ควบคุมโดยทีมพยาบาลของ Health at Home

menu

โรค & การดูแล

วิธีเลือก “ฟูก” หรือ “ที่นอน” ให้ผู้สูงอายุ หรือ ผู้ป่วย

โดย Health at home · 9 กันยายน 2563

ทุกคนล้วนเป็น “มือใหม่” ในวันที่คุณพ่อ หรือ คุณแม่ ออกจากโรงพยาบาล เพราะวันนั้นการใช้ชีวิตของท่านนั้นไม่เหมือนเดิม และสภาพแวดล้อมในบ้านก็ต้องถูกปรับเปลี่ยนด้วยเช่นกัน

ทีมงาน Health at home ได้รับคำถามมากมาย จากผู้ใช้บริการว่า จะต้องปรับบ้านอย่างไร ต้องซื้ออะไรบ้าง แน่นอนรายการของที่ต้องซื้อมีมากมาย แล้วของที่มีความสำคัญ และมีราคาสูงเป็นอันดับต้นๆ อย่างหนึ่งก็คือ “ฟูก” นั่นเอง

หากคุณมีโอกาสที่ต้องเลือกซื้อ “ฟูก” แล้วได้เดินเข้าไปในร้านขายอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือลอง Search ใน website ก็จะพบกับคำศัพท์มากมาย จำนวนฟูกหลากหลายชนิด หลากหลายราคา

วันนี้ทีมงาน Health at home เลยถือโอกาสรวบรวมทุกอย่าง ให้จบในบทความเดียว ไปดูกันว่า เมื่อต้องย้ายจากโรงพยาบาลกลับบ้าน เราจะเลือกที่นอนให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยอย่างไรดี?

1. เป็นผู้ป่วยติดเตียง หรือ มีแผลกดทับหรือไม่

หากคำตอบคือ “ใช่” ตัวเลือกของคุณคือ ที่นอนลม เนื่องจากที่นอนลมนั้นจะใช้มอเตอร์ไฟฟ้าปั๊มลมสลับไปมาเพื่อผิวของผู้สูงอายุได้มีการขยับเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ เพื่อช่วยทดแทนในการพลิกตัว

แต่หากคำตอบคือ “ไม่” สามารถเลือกใช้ที่นอนแบบโฟมหรือแบบเจลเพื่อช่วยกระจายน้ำหนักให้รองรับสรีระ ซึ่งจะนอนสบายกว่าที่นอนลม แล้วก็ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า

2. รังผึ้ง VS ลอน

เมื่อเป็นเตียงลมแล้ว สิ่งที่ต้องพิจารณาต่อคือ น้ำหนักตัวของผู้ป่วย เพราะรุ่นรังผึ้งจะรับน้ำหนักได้น้อยกว่า อีกทั้งแบบลอน จะมีข้อดีคือถอดทำความสะอาดแยกส่วนได้ หรือ ถ้าเสียก็เปลี่ยนแค่ลอนนั้นๆ

3. ราคา (2,500 - 25,000++++ ) ทำไมราคาแตกต่างกัน

ที่นอนแต่ละประเภทมีราคาแตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาใช้และอายุเวลาการใช้งาน ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสม ที่สำคัญควรเลือกด้วยว่าร้านที่เราซื้อนั้นมีบริการหลังการขายอย่างไร เพราะเป็นชิ้นใหญ่ เมื่อมีปัญหาการขนย้ายเป็นเรื่องที่ลำบาก

** ข้อควรระวังที่สำคัญ คือ ควรเลือกซื้อภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด เนื่องจากที่นอนลมอาจไม่แนะนำให้ใช้กับผู้สูงอายุบางกรณี เช่น

- ผู้สูงอายุที่มีลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ (Phlebothrombosis)
- ผู้สูงอายุที่มีปัญหากระดูกสันหลังหัก ซึ่งอาจมีการเคลื่อนที่ของกระดูก (Unstable Spinal Fractures)
- ผู้สูงอายุที่มีการแตกหักของกระดูกที่ยังไม่เข้าที่เนื่องจากการเคลื่อนไหว

หากมีอุปกรณ์เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุอื่นๆ ที่อยากทราบข้อมูลสามารถสอบถามมาในคอมเม้นท์เลยนะคะ แล้วแอดมินจะช่วยหาคำตอบให้ค่า

ที่นอนกันแผลกดทับ

Health at home
ทีมแพทย์ พยาบาล เฮลท์ แอท โฮม

Related Posts

จะรู้ได้ไงว่าเป็นสมองเสื่อม หรือ อัลไซเมอร์

จะรู้ได้ไงว่าเป็นสมองเสื่อม หรือ อัลไซเมอร์

ผู้ดูแลมืออาชีพ vs พยาบาล vs แม่บ้าน ต่างกันอย่างไร ?

ผู้ดูแลมืออาชีพ vs พยาบาล vs แม่บ้าน ต่างกันอย่างไร ?

เปรียบเทียบ “ราคา” ในการจ้างผู้ดูแล

เปรียบเทียบ “ราคา” ในการจ้างผู้ดูแล