การดูแลจิตใจ
โดย พญ.ดุจฤดี อภิวงศ์ (หมอนุ่น) · 2018-04-04
ขนาดเซเว่นอีเลฟเว่นยังต้องมีเปลี่ยนกะพนักงาน แล้วผู้ดูแลที่ไม่มีวันพักจะทำไหวได้อย่างไร วันนี้หมอตั้มจะมาชวนคุณหมอนุ่น จิตแพทย์คนสวย มาคุยเรื่องที่เจอได้บ่อยมากกกก ในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน นั่นก็คือปัญหาผู้ดูแลหมดไฟ (Burn out) ปัญหาที่ผู้ดูแลเองมักไม่ค่อยพูดว่าทำไม่ไหว เพราะบางครั้ง……
ปัญหานี้มักไม่ได้ถูกหยิบยกมาพูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมา โดยเฉพาะสังคมไทยที่มีความเกรงใจสูง ……แต่แท้จริงนี่คือปัญหาที่ถูกซ่อนไว้ใต้พรม รอวันปะทุขึ้นมา
อาการแบบไหนที่บ่งบอกว่าคุณกำลังหมดไฟ (Caregiver Burnout)
หากคุณเป็นผู้ดูแลและมีอาการดังกล่าว เรามาดูแนวทางการการรับมือกัน
#ผู้ดูแลต้องมีความรู้ในการดูแล
การมีความรู้จะช่วยลดความเครียดและความกังวลในการดูแลได้ โดยควรถามจากแพทย์ จากผู้มีประสบการณ์ หรือ อ่านหนังสือเพิ่มเติม
การที่เรามีความเข้าใจโรค เข้าใจธรรมชาติของโรคและอาการแสดงจะทำให้เรามีความกังวลน้อยลง หลายๆครั้งอาการแสดงของคนไข้ ไม่ได้เกิดจากความตั้งใจของเขา แต่เป็นจากอาการของโรค เช่นโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ ซึ่งหลายครั้งคนไข้พูดซ้ำๆ เราเข้าใจไปว่าเขาแกล้งเรา แต่แท้จริงไม่ใช่เลย
การนอนหลับ ถือว่าเป็น กิจวัตรที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง ถ้าร่างกายเป็นรถ การนอนก็เหมือนการเติมน้ำมัน หรือเชื้อเพลิง
อาการ Burn out ส่วนใหญ่แล้วมาจาก สาเหตุนี้ไม่น้อยทีเดียว
อย่างน้อยๆในหนึ่งวันควรมีเวลานอนให้ได้ 7-8 ชั่วโมง และในหนึ่งอาทิตย์ควรมีวันหยุด 1 วันเป็นอย่างน้อย
การบอกพี่น้อง หรือญาติในครอบครัวอย่างตรงไปตรงมาว่าเรามีขีดจำกัด และหากไม่มีใครสะดวก การจ้างผู้ดูแลมืออาชีพเข้าไปช่วย ไม่ใช่เรื่องที่เสียหาย และหน้าอายแต่อย่างใด ถ้าเรามองว่าในระยะยาว การที่เราได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ จะทำให้เราดูแลได้ดีกว่า และนานกว่าอีกด้วย
เราเองต้องมองว่านี่คืองานอย่างหนึ่ง ดังนั้นเราต้องจัดเวลาให้ตัวเองด้วย ไม่มีใครทำงาน 24 ชั่วโมง เราต้องคิดว่าเรามีเวลาเริ่มงาน ควรมีเวลาเลิกงานเพื่อให้เวลากับตนเอง
สำหรับคนในครอบครัว หากพี่น้องซักหนึ่งของท่านลาออกมาดูแลคนไข้เต็มเวลาที่บ้าน ญาติ พี่น้อง ต้องเข้าใจว่าเขากำลังทำงานอยู่ ต้องใส่ใจที่จะเข้ามาช่วยมาผลัดเปลี่ยน ช่วยสนับสนุนเรื่องค่าใช้จ่าย และให้กำลังใจ
ดังนั้นผู้ดูแลทุกท่าน ดูแลคนอื่นแล้ว อย่าลืมดูแลตัวเองนะคะ
ด้วยความปรารถนาดีจาก Health at Home ค่ะ