โรค & การดูแล
โดย นพ. กำพล จินตนาวิลาศ · 2022-05-03
หลายคนอาจรู้จักโรคหัวใจเช่น ภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ ความผิดปกติของลิ้นหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจที่อ่อนแรงเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหัวใจอีกกลุ่มหนึ่งเกิดจากระบบนำไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ คือความผิดปกติของระบบนำไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับวงจรไฟฟ้าภายในร่างกายซึ่งทำหน้าที่กำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจ โรคนี้สามารถทำให้เกิดปัญหาทั้งจากนำไฟฟ้าขัดข้องภายในหัวใจเกิดภาวะหัวใจเต้นช้าและเกิดอาการจากเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ไม่เพียงพอ หรืออาจเกิดการลัดวงจรและนำไปสู่ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดอาการใจสั่นแล้วยังอาจส่งผลต่อการใช้พลังงานของกล้ามเนื้อหัวใจที่เพิ่มขึ้น การเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงตามมาได้
สาเหตุการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะความผิดปกติของระบบนำไฟฟ้าหัวใจที่ทำให้หัวใจเต้นช้ามีสาเหตุหลักจากความเสื่อมที่เกิดจากอายุที่มากขึ้น การใช้ยาต่างๆรวมถึงการขาดเลือดของระบบนำไฟฟ้าหัวใจจึงมักพบในผู้สูงอายุมากกว่าผู้อายุน้อย
ในขณะที่กลุ่มโรคหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะมักพบในผู้ป่วยอายุน้อยกว่าเพราะมักเกิดจากวงจรการนำไฟฟ้าผิดปกติที่มีมาแต่กำเนิดหรือจุดกำเนิดไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ ในผู้สูงอายุหากมีภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติมักเกิดจากความผิดปกติของหัวใจอื่นร่วมด้วยเช่นการมีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมาก่อน การมีภาวะหัวใจล้มเหลวรวมถึงลิ้นหัวใจผิดปกติต่างๆ
อาการของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มโดยส่วนใหญ่ คือ 1. อาการที่เกิดจากหัวใจเต้นเร็วผิดปกติอาการที่เกิดจากหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ 2. อาการที่เกิดจากภาวะหัวใจเต้นช้า
อาการที่เกิดจากหัวใจเต้นเร็วผิดปกติอาการที่เกิดจากหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ จะสังเกตได้ง่ายกว่าประกอบด้วย1) ใจสั่น ใจเต้นแรง ใจเต้นเร็วหรือเต้นสะดุด
2) เหนื่อยง่าย หายใจหอบ อ่อนเพลีย เหงื่อออกมาก
3) เจ็บหน้าอก
4) หน้ามืด ตาลาย วูบ เป็นลมหมดสติ
5) หัวใจหยุดเต้นหรือการเสียชีวิตกระทันหัน
6) ไม่มีอาการหรือตรวจพบโดยบังเอิญ
ในส่วนภาวะหัวใจเต้นช้าอาการมักเกิดจากการมีเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายไม่เพียงพอเช่น1) หน้ามืด ตาลาย วูบ เป็นลมหมดสติ
2) อาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
3) เจ็บแน่นหน้าอกจากเลือดเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ
จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเบื้องต้นการจับชีพจรบริเวณข้อมือเป็นสิ่งที่สามารถประเมินได้ง่าย รวดเร็วและมีประโยชน์ต่อการวินิจฉัยและพิจารณาการรักษา ตามมาด้วยการใช้เครื่องวัดความดันโลหิตก็จะมีส่วนช่วยในการประเมินความรุนแรงโดยหากมีความดันโลหิตที่ต่ำลงเป็นสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่าอาการที่เป็นเกิดจากโรคที่มีความรุนแรงสูงและเครื่องวัดความดันยังสามารถบอกถึงชีพจรหรืออัตราการเต้นของหัวใจซึ่งจะเป็นข้อมูลที่ใช้ในการวินิจฉัยแยกโรคได้อีกด้วย ซึ่งชีพจรที่มากกว่า 100 ครั้งต่อนาทีแสดงถึงภาวะหัวใจเต้นเร็วซึ่งหากมีอาการในขณะที่ไม่ได้มีการออกแรงจะบ่งชี้ถึงหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ ภาวะหัวใจเต้นช้าจะมีชีพจรที่น้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาทีซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะหรือหน้ามืดได้หากชีพจรช้ามาก
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นข้อมูลที่สำคัญสำหรับการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาซึ่งในปัจจุบันนอกจากการตรวจคลื่นฟ้าหัวใจมาตรฐานที่โรงพยาบาลแล้ว การติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นอีกเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะเกิดอาการโดยการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนหรือนาฬิกา
อุปกรณที่สามารถตรวจคลื่นหัวใจไฟฟ้าได้ด้วยตนเอง1. สมาทวอทช์ Apple watch 4, 5, 6 และ 7
2. สมาทวอทช์ Huawei. Watch GT 2 Pro ECG edition.
3. สมาทวอทช์ Xfit watch
4. เครื่องวัดความดัน omron HEM-7361T
5. Cmate Portable ECG เครื่องวัดสุขภาพหัวใจส่วนบุคคล
6. AliveCor mobile ECG
การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะปัจจุบันเครื่องกระตุ้นหัวใจมีบทบาทสำคัญในการรักษาความผิดปกติของระบบนำไฟฟ้าหัวใจที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นช้า ในขณะที่การรักษาภาวะหัวใจเต้นเร็วจะมีความหลากหลายมากกว่าประกอบด้วยการใช้ยาควบคุมหัวใจเต้นผิดจังหวะ การจี้ (Ablation) ด้วยความร้อนหรือความเย็นรักษาจุดกำเนิดหรือวงจรไฟฟ้าหัวใจผิดปกติรวมถึงการใช้เครื่องกระตุกหัวใจชนิดฝังในร่างกาย ซึ่งการพจารณาการรักษาจะขึ้นกับชนิดของโรคที่มีความแตกต่างกัน
การปรับพฤติกรรมลดความเสี่ยงโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ1 หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา โดยเฉพาะการดื่มปริมาณมากในแต่ละครั้ง
2 หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพย์ติดโดยเฉพาะกลุ่มสารกระตุ้นเช่น โคเคน แอมเฟตามีน
3 พักผ่อนให้เพียงพอรวมทั้งหลีกเลี่ยงการทานกาแฟหรือเครื่องดื่มชูกำลังเกินปริมาณที่กำหนด
4 ออกกำลังกายในปริมาณที่เหมาะสมเนื่องจากการศึกษาบางส่วนพบว่าการออกกำลังกายปริมาณมาก เช่น การฝึกวิ่งมาราธอน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้
5 ตรวจเช็คสุขภาพประจำปีโดยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
หากท่านมีอาการของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำเพื่อได้รับการวินิจฉัย รับคำปรึกษาและการรักษาที่เหมาะสมจากแพทย์ได้ทันท่วงทีและลดความเสี่ยงในการเสียชีวิต
Health at home เรามีแนวคิดว่า “People don't need to go to hospital, unless they really need to” โดยเริ่มจากพัฒนาบริการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยทั้งที่บ้านและโรงพยาบาล หากท่านใดสนใจสามารถสอบถามฝ่ายบริการลูกค้าได้โดยการแอดไลน์ที่นี่ครับ นอกจากนี้เรายังมี Health at home care center ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ให้บริการตั้งอยู่ที่ ถ.ติวานนท์ จ.นนทบุรี และในปี 2021 เราพัฒนาระบบแพทย์ทางไกล Telemedicine ที่ชื่อว่า Health at work ที่จะช่วยให้การปรึกษาหมอแต่ละครั้งเป็นเรื่องง่ายอีกด้วยครับ