โรค & การดูแล

ผู้สูงอายุ น้ำหนักลด ผอมลง? เช็ค 6 สัญญาณภาวะขาดสารอาหาร พร้อมวิธีดูแล | Health at Home

โดย Health at home · 2024-11-29

การดูแลโภชนาการของผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะเมื่อเริ่มสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย เช่น น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วหรือดูผอมลงกว่าปกติ สัญญาณเหล่านี้อาจบ่งบอกถึงภาวะขาดสารอาหาร ซึ่งมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ วันนี้ Health at Home ขอนำเสนอสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกถึงภาวะขาดสารอาหารในผู้สูงอายุ พร้อมแนวทางแก้ไขที่สามารถช่วยเสริมสุขภาพให้ดีขึ้นได้มาไว้ในบทความนี้

ภาวะขาดสารอาหารในผู้สูงอายุ คืออะไร?

ภาวะขาดสารอาหารในผู้สูงอายุ (Malnutrition in Elderly) คือ สภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ทำให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานผิดปกติ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม เช่น กล้ามเนื้อลีบ อ่อนแรง ภูมิคุ้มกันลดลง รวมถึงความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น

สังเกตอาการภาวะขาดสารอาหาร

สังเกต 6 สัญญาณภาวะขาดสารอาหารในผู้สูงอายุ

การตรวจสอบว่าผู้สูงอายุอยู่ในภาวะขาดสารอาหารหรือไม่ สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยใช้วิธีการประเมินด้วยตนเองจากสัญญาณทางร่างกายและพฤติกรรม รวมถึงการสังเกตสุขภาพโดยรวมอย่างละเอียด โดยมีเทคนิคที่นำไปใช้ได้จริงดังนี้:

1. สังเกตการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนัก
  • วิธีทำ: ชั่งน้ำหนักผู้สูงอายุเป็นประจำ (ทุกสัปดาห์หรือทุกเดือน) และบันทึกไว้
  • สัญญาณเตือน: น้ำหนักลดลงเกิน 5% ภายใน 1 เดือน หรือ 10% ภายใน 6 เดือน โดยไม่ได้ตั้งใจ
2. สังเกตมวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรง
  • วิธีทำ: ลองให้ผู้สูงอายุยกของเบา ๆ เช่น ขวดน้ำ หรือจับมือเพื่อวัดแรงบีบ
  • สัญญาณเตือน: กล้ามเนื้อแขนขาดูลีบเล็ก ผู้สูงอายุยกของหรือเดินได้ลำบากกว่าปกติ
3. ตรวจดูสภาพผิว ผม และเล็บ
  • วิธีทำ: สังเกตว่าผิวพรรณมีความยืดหยุ่นหรือไม่ มีแผลที่หายช้าหรือผมร่วงผิดปกติหรือเปล่า
  • สัญญาณเตือน: ผิวแห้งแตก ลอก หมองคล้ำ เล็บเปราะ หรือผมแห้งกรอบ
4. ประเมินความอยากอาหาร
  • วิธีทำ: สอบถามผู้สูงอายุว่าเบื่ออาหารหรือมีปัญหาในการเคี้ยวหรือกลืนหรือไม่
  • สัญญาณเตือน: การรับประทานอาหารลดลงหรือทานได้เพียงเล็กน้อยในแต่ละมื้อ
5. สังเกตพฤติกรรมและพลังงานในแต่ละวัน
  • วิธีทำ: สังเกตว่าผู้สูงอายุสามารถทำกิจกรรมพื้นฐาน เช่น เดินในระยะ 400 เมตร (หรือประมาณ 5-7 นาที) โดยไม่หยุดพัก หรือนั่งลุกจากเก้าอี้ 5 ครั้งในเวลาไม่เกิน 15 วินาที หากทำได้โดยไม่เหนื่อยหรือไม่รู้สึกหมดแรง แสดงว่าระดับพลังงานยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • สัญญาณเตือน: หากผู้สูงอายุรู้สึกเหนื่อยง่ายเมื่อลุกขึ้นเดิน 3-5 นาที หรือต้องนั่งพักบ่อย นั่งนิ่ง ๆ นานขึ้น และแสดงความไม่กระตือรือร้นในการทำกิจกรรม อาจเป็นสัญญาณของภาวะพลังงานลดลง หรือขาดสารอาหาร
6. ตรวจสอบการติดเชื้อหรือแผลหายช้า
  • วิธีทำ: สังเกตว่าผู้สูงอายุมีไข้หวัดหรือการติดเชื้อบ่อยครั้ง และดูว่าบาดแผลเล็ก ๆ เช่น แผลจากรอยขีดข่วนหรือรอยถลอก ใช้เวลานานแค่ไหนกว่าจะหายสนิท
    • ข้อมูลเพิ่มเติม:
    • - แผลขนาดเล็กปกติ เช่น รอยขีดข่วน หรือแผลถลอกทั่วไป ในคนที่มีสุขภาพดี ควรใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน ในการสมานแผลจนปิดสนิท
    • - แผลขนาดกลาง หรือแผลจากการตัด เช่น การตัดเล็บที่ลึกเกินไป ควรหายภายใน 2-3 สัปดาห์ หากแผลหายช้ากว่าปกติ หรือมีอาการบวมแดง ร้อน อักเสบ หรือมีหนองร่วมด้วย อาจเป็นสัญญาณของภาวะขาดโปรตีน วิตามินซี หรือสังกะสี
  • สัญญาณเตือน: หากแผลเล็ก ๆ ใช้เวลาเกิน 14 วัน หรือแผลขนาดกลางเกิน 3 สัปดาห์ ในการสมาน หรือผู้สูงอายุติดเชื้อบ่อย ควรพิจารณาเสริมสารอาหารที่จำเป็น เช่น วิตามินซี สังกะสี และโปรตีน เพื่อช่วยฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันและเร่งกระบวนการสมานแผล

ทำอย่างไร? เมื่อผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยอยู่ในภาวะขาดสารอาหาร

ภาวะขาดสารอาหารในผู้สูงอายุเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น การลดประสิทธิภาพในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน การฟื้นตัวจากการเจ็บป่วยที่ช้าลง หรือแม้กระทั่งความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ อย่างไรก็ตาม ภาวะขาดสารอาหารสามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลโภชนาการอย่างใกล้ชิด โดย Health at Home มีวิธีการแนะนำที่เข้าใจง่ายและสามารถนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ดังนี้:

1. จัดมื้ออาหารที่ครบถ้วนและสมดุล
  • ควรมีสารอาหารหลักครบ 5 หมู่ในทุกมื้อ
  • เน้นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง มันหวาน และธัญพืช
  • เลือกรับประทานโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหาย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่อาจสูญเสียมวลกล้ามเนื้อจากกระบวนการเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ ตามวัย (Aging) ซึ่งโปรตีนสามารถหาได้จาก อกไก่, ไข่, เนื้อปลา, เต้าหู้ และ ถั่วชนิดต่างๆ

    • ข้อแนะนำ: คำนวณปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมในแต่ละวันแก่ผู้สูงอายุ
        ผู้สูงอายุ ไม่มีโรคประจำตัว
      • ควรได้รับโปรตีน 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน
      • ตัวอย่าง: หากน้ำหนัก 50 กิโลกรัม ควรได้รับโปรตีน 50 กรัมต่อวัน
        ผู้ที่ต้องจำกัดโปรตีน (เช่น ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนฟอกไต)
      • ควรได้รับโปรตีน 0.6–0.8 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน
      • ตัวอย่าง: หากน้ำหนัก 50 กิโลกรัม ควรได้รับโปรตีน 30–40 กรัมต่อวัน
        ผู้ที่ต้องการโปรตีนมากเป็นพิเศษ
      • ได้แก่ ผู้ป่วยที่ฟอกไต แผลกดทับ ผู้ป่วยโรคตับ มะเร็ง ควรได้รับโปรตีน 1.2–2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน
      • ตัวอย่าง: หากน้ำหนัก 50 กิโลกรัม ควรได้รับโปรตีน 50 กรัมต่อวัน

      ข้อแนะนำ: เสริมวิตามินและแร่ธาตุสำคัญ
      • แคลเซียม: แคลเซียมเป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับการรักษากระดูกให้แข็งแรง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มักมีปัญหาเรื่องการเสื่อมสภาพของกระดูก สามารถทานอาหารเสริมที่ีมีแคลเซียมได้จากถั่วเหลือง ธัญพืช ปลาตัวเล็ก ฯลฯ

      • วิตามิน D: ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงในการขาดวิตามิน D ซึ่งสำคัญต่อการดูดซึมแคลเซียมและสุขภาพกระดูก ควรเสริมวิตามิน D โดยการรับแสงแดดและการทานอาหารเสริมที่มีวิตามิน D เช่น ปลาแซลมอน, ไข่แดง, น้ำมันตับปลา

      • วิตามิน B12: การขาดวิตามิน B12 อาจทำให้เกิดปัญหาการดูดซึมสารอาหาร หรือปัญหาทางระบบประสาท เช่น ความจำเสื่อม แหล่งวิตามิน B12 ได้แก่ หมู ไก่ ปลา ไข่ และอาหารทะเลต่างๆ

      • วิตามิน A: สำคัญต่อสุขภาพสายตาและระบบภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเสื่อมของจอประสาทตา แหล่งวิตามิน A ได้แก่ ฟักทอง, แครอท และผักใบเขียวเข้มต่างๆ เช่น คะน้า, ปวยเล้ง, บรอกโคลี
2. กระตุ้นความอยากอาหาร
  • สร้างบรรยากาศที่ดีในการรับประทานอาหาร เช่น การทานร่วมกับครอบครัว
  • เสริมรสชาติอาหารให้น่าทานมากขึ้น ด้วยการเพิ่มน้ำซุปเข้มข้นหรือผลไม้รสเปรี้ยวหวานเป็นครั้งคราว และปรุงอาหารให้มีกลิ่นและรสเด่นตามความชอบของผู้สูงอายุ เพื่อช่วยแก้ปัญหาการรับรสหรือกลิ่นที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ควรระมัดระวังในการปรุงรส โดยหลีกเลี่ยงการปรุงรสจัดจนเกินไป ซึ่งอาจทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมเกินความจำเป็น และพึงระวังข้อห้ามสำหรับผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่น งดเติมน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน หรือลดความเค็มในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
  • การรับประทานอาหารขนาดชิ้นเล็ก รับประทานง่าย ช่วยให้อยากทานมากขึ้น
  • การเลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย แบ่งมื้ออาหารออกเป็น 4-5 มื้อเล็กๆ จะช่วยให้ทานได้ต่อเนื่องยิ่งขึ้น และช่วยให้การย่อยอาหาร การดูดซึมสารอาหาร มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การออกกำลังกายสามารถช่วยเพิ่มความอยากอาหารและส่งเสริมการดูดซึมสารอาหารได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะการออกกำลังกายที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ควรเลือกกิจกรรมที่เหมาะสม เช่น การเดินเร็ว 20-30 นาที 3-5 วันต่อสัปดาห์ การยกน้ำหนักเบาหรือใช้แถบยางยืด 2-3 วันต่อสัปดาห์ และการยืดเหยียดหรือฝึกสมดุล เช่น โยคะหรือไทเก็ก ทุกวัน วันละ 5-10 นาที โดยเริ่มต้นด้วยการวอร์มอัพ 5-10 นาที และคูลดาวน์หลังออกกำลังกาย เพื่อลดการบาดเจ็บและเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย

ผู้สูงอายุควรปรับระดับความหนักเบาให้อยู่ในระดับปานกลางที่สามารถพูดคุยได้โดยไม่เหนื่อยจนเกินไป หากมีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหน้าอกหรือเวียนศีรษะ ควรหยุดทันทีและปรึกษาแพทย์ การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมช่วยเพิ่มพลังงาน เสริมสร้างกล้ามเนื้อ และช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น พร้อมเสริมคุณภาพชีวิตในระยะยาว

โภชนาการผู้สูงอายุ

หากผู้สูงอายุได้รับสารอาหารไม่ครบ เสริมได้ด้วยอาหารสูตรครบถ้วน

อาหารสูตรครบถ้วน คือ นวัตกรรมอาหาร ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุได้รับพลังงานและสารอาหารที่ร่างกายต้องการครบถ้วนในปริมาณที่เหมาะสม สามารถทดแทนมื้อหลักหรือเป็นมื้ออาหารเสริมได้

การเลือกอาหารสูตรครบถ้วนสำหรับผู้สูงอายุ

ควรพิจารณาในหลายๆ ด้าน เพื่อให้มั่นใจว่าผู้สูงอายุได้รับสารอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ดังนี้

1. โปรตีนเพียงพอและมีคุณภาพ

ควรเลือกอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพสูง เช่น โปรตีนจากอกไก่และไข่ ซึ่งย่อยง่ายและให้กรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับการสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อในร่างกาย โปรตีนมีบทบาทสำคัญในการรักษากล้ามเนื้อ ลดการเสื่อมสภาพของกล้ามเนื้อ และช่วยในการฟื้นฟูร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. วิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็น

อาหารสูตรครบถ้วนควรประกอบด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย วิตามินและแร่ธาตุเหล่านี้ยังช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาท บำรุงกระดูก และดูแลระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานได้ดีขึ้น

3. มีสารอาหารครบถ้วนและให้พลังงานที่เพียงพอในหนึ่งมื้อ

ควรเลือกอาหารที่ให้สารอาหารครบถ้วนในปริมาณเทียบเท่าหนึ่งมื้ออาหารปกติ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารและพลังงานที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ผู้สูงอายุควรจัดพลังงานให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย เช่น ปรับรูปแบบการรับประทานอาหารจาก 3 มื้อใหญ่ต่อวัน ควรแบ่งเป็น 5–6 มื้อเล็ก ๆ ให้ได้รับพลังงานเฉลี่ย 250 – 300 กิโลแคลอรี่ต่อมื้อ เพื่อช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้สะดวก และยังคงได้รับพลังงานเพียงพอ

โภชนาการผู้สูงอายุ *การใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมควรได้รับการปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนรับประทาน

อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ ที่ออกแบบมาเพื่อผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่ต้องการสารอาหารครบถ้วน อย่าง NutriMax อาหารสูตรครบถ้วน ที่พัฒนาสูตรร่วมกับ รพ. รามาธิบดี จึงมั่นใจได้ในความปลอดภัย และคุณค่าทางโภชนาการที่ได้รับ โดยมีส่วนผสมและวัตถุดิบหลักจากธรรมชาติ ทั้งฟักทอง อกไก่ ไข่ และน้ำมันรำข้าว ให้โปรตีนสูงจากอกไก่และไข่ พร้อมวิตามินและแร่ธาตุรวม 20 ชนิด ทั้งวิตามิน A, B, C, และ D ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อผู้สูงอายุ อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพในการฟื้นฟูสุขภาพด้วยผลวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์อีกด้วย

จากการศึกษาเชิงทดลองเปรียบเทียบผลก่อนและหลังได้รับสารอาหาร เป็นเวลา 14 วัน ในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่มีภาวะขาดสารอาหารอย่างรุนแรง หลังได้รับการทดสอบเห็นผลดีขึ้นในหลายด้าน เช่น ระดับอะบูมิน (Albumin) โปรตีนในเลือดมีส่วนช่วยซ่อมแซมร่างดีขึ้น จำนวนเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) ส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น และช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง (Plasmaglucose level)

NutriMax อาหารสูตรครบถ้วน ไม่เพียงตอบโจทย์เรื่องโภชนาการที่ครบถ้วนเท่านั้น แต่ยังมีผลการวิจัยที่สนับสนุน แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการฟื้นฟูและดูแลสุขภาพของผู้ป่วยและผู้สูงอายุ

ดูข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และวิธีการใช้งานได้ที่ เว็บไซต์ NutriMax เพื่อเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับสุขภาพของคุณและคนที่คุณรัก

สรุป

การดูแลภาวะขาดสารอาหารในผู้สูงอายุต้องอาศัยการประเมินสถานะทางโภชนาการที่เหมาะสมร่วมกับแพทย์ประจำตัว อาศัยการสังเกตสัญญาณที่เป็นข้อบ่งชี้ภาวะขาดสารอาหารของผู้สูงอายุอยู่เสมอและปรับปรุงพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้ดีขึ้น สุดท้ายควรเลือกเสริมอาหารสูตรครบถ้วนที่มีส่วนผสมครบตามความต้องการและความจำเป็นและมีผลงานวิจัยที่ถูกรับรองประสิทธิภาพ และตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ที่น่าเชื่อถือ

ข้อมูลอ้างอิง

https://www.nutrimax.co.th/certificate

https://storage.googleapis.com/cp-nutrimax-prod-bucket-app/certificate/file/mMh0YTeKaF1703233920.pdf

แชร์บทความนี้:

Health at home

ทีมผู้เขียนนักโภชนาการอาหาร จากสหวิชาชีพ ของบริษัทเฮลท์ แอท โฮม มีความตั้งใจจะเผยแพร่ความรู้เรื่องการดูแลผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่บ้าน ให้เป็นประโยชน์กับคนไทย