โรค & การดูแล
โดย นพ. กำพล จินตนาวิลาศ · 2022-05-03
หลายคนอาจรู้จักโรคหัวใจเช่น ภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ ความผิดปกติของลิ้นหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจที่อ่อนแรงเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหัวใจอีกกลุ่มหนึ่งเกิดจากระบบนำไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ คือความผิดปกติของระบบนำไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับวงจรไฟฟ้าภายในร่างกายซึ่งทำหน้าที่กำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจ โรคนี้สามารถทำให้เกิดปัญหาทั้งจากนำไฟฟ้าขัดข้องภายในหัวใจเกิดภาวะหัวใจเต้นช้าและเกิดอาการจากเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ไม่เพียงพอ หรืออาจเกิดการลัดวงจรและนำไปสู่ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดอาการใจสั่นแล้วยังอาจส่งผลต่อการใช้พลังงานของกล้ามเนื้อหัวใจที่เพิ่มขึ้น การเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงตามมาได้
สาเหตุการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะความผิดปกติของระบบนำไฟฟ้าหัวใจที่ทำให้หัวใจเต้นช้ามีสาเหตุหลักจากความเสื่อมที่เกิดจากอายุที่มากขึ้น การใช้ยาต่างๆรวมถึงการขาดเลือดของระบบนำไฟฟ้าหัวใจจึงมักพบในผู้สูงอายุมากกว่าผู้อายุน้อย
ในขณะที่กลุ่มโรคหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะมักพบในผู้ป่วยอายุน้อยกว่าเพราะมักเกิดจากวงจรการนำไฟฟ้าผิดปกติที่มีมาแต่กำเนิดหรือจุดกำเนิดไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ ในผู้สูงอายุหากมีภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติมักเกิดจากความผิดปกติของหัวใจอื่นร่วมด้วยเช่นการมีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมาก่อน การมีภาวะหัวใจล้มเหลวรวมถึงลิ้นหัวใจผิดปกติต่างๆ
สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มโดยส่วนใหญ่ คือ 1. อาการที่เกิดจากหัวใจเต้นเร็วผิดปกติอาการที่เกิดจากหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ 2. อาการที่เกิดจากภาวะหัวใจเต้นช้า
อาการที่เกิดจากหัวใจเต้นเร็วผิดปกติอาการที่เกิดจากหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ จะสังเกตได้ง่ายกว่าประกอบด้วย1) ใจสั่น ใจเต้นแรง ใจเต้นเร็วหรือเต้นสะดุด
2) เหนื่อยง่าย หายใจหอบ อ่อนเพลีย เหงื่อออกมาก
3) เจ็บหน้าอก
4) หน้ามืด ตาลาย วูบ เป็นลมหมดสติ
5) หัวใจหยุดเต้นหรือการเสียชีวิตกระทันหัน
6) ไม่มีอาการหรือตรวจพบโดยบังเอิญ
1) หน้ามืด ตาลาย วูบ เป็นลมหมดสติ
2) อาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
3) เจ็บแน่นหน้าอกจากเลือดเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ
เบื้องต้นการจับชีพจรบริเวณข้อมือเป็นสิ่งที่สามารถประเมินได้ง่าย รวดเร็วและมีประโยชน์ต่อการวินิจฉัยและพิจารณาการรักษา ตามมาด้วยการใช้เครื่องวัดความดันโลหิตก็จะมีส่วนช่วยในการประเมินความรุนแรงโดยหากมีความดันโลหิตที่ต่ำลงเป็นสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่าอาการที่เป็นเกิดจากโรคที่มีความรุนแรงสูงและเครื่องวัดความดันยังสามารถบอกถึงชีพจรหรืออัตราการเต้นของหัวใจซึ่งจะเป็นข้อมูลที่ใช้ในการวินิจฉัยแยกโรคได้อีกด้วย ซึ่งชีพจรที่มากกว่า 100 ครั้งต่อนาทีแสดงถึงภาวะหัวใจเต้นเร็วซึ่งหากมีอาการในขณะที่ไม่ได้มีการออกแรงจะบ่งชี้ถึงหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ ภาวะหัวใจเต้นช้าจะมีชีพจรที่น้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาทีซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะหรือหน้ามืดได้หากชีพจรช้ามาก
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นข้อมูลที่สำคัญสำหรับการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาซึ่งในปัจจุบันนอกจากการตรวจคลื่นฟ้าหัวใจมาตรฐานที่โรงพยาบาลแล้ว การติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นอีกเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะเกิดอาการโดยการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนหรือนาฬิกา
อุปกรณที่สามารถตรวจคลื่นหัวใจไฟฟ้าได้ด้วยตนเอง1. สมาทวอทช์ Apple watch 4, 5, 6 และ 7
2. สมาทวอทช์ Huawei. Watch GT 2 Pro ECG edition.
3. สมาทวอทช์ Xfit watch
4. เครื่องวัดความดัน omron HEM-7361T
5. Cmate Portable ECG เครื่องวัดสุขภาพหัวใจส่วนบุคคล
6. AliveCor mobile ECG
การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะปัจจุบันเครื่องกระตุ้นหัวใจมีบทบาทสำคัญในการรักษาความผิดปกติของระบบนำไฟฟ้าหัวใจที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นช้า ในขณะที่การรักษาภาวะหัวใจเต้นเร็วจะมีความหลากหลายมากกว่าประกอบด้วยการใช้ยาควบคุมหัวใจเต้นผิดจังหวะ การจี้ (Ablation) ด้วยความร้อนหรือความเย็นรักษาจุดกำเนิดหรือวงจรไฟฟ้าหัวใจผิดปกติรวมถึงการใช้เครื่องกระตุกหัวใจชนิดฝังในร่างกาย ซึ่งการพจารณาการรักษาจะขึ้นกับชนิดของโรคที่มีความแตกต่างกัน
การปรับพฤติกรรมลดความเสี่ยงโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ1 หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา โดยเฉพาะการดื่มปริมาณมากในแต่ละครั้ง
2 หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพย์ติดโดยเฉพาะกลุ่มสารกระตุ้นเช่น โคเคน แอมเฟตามีน
3 พักผ่อนให้เพียงพอรวมทั้งหลีกเลี่ยงการทานกาแฟหรือเครื่องดื่มชูกำลังเกินปริมาณที่กำหนด
4 ออกกำลังกายในปริมาณที่เหมาะสมเนื่องจากการศึกษาบางส่วนพบว่าการออกกำลังกายปริมาณมาก เช่น การฝึกวิ่งมาราธอน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้
5 ตรวจเช็คสุขภาพประจำปีโดยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
หากท่านมีอาการของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำเพื่อได้รับการวินิจฉัย รับคำปรึกษาและการรักษาที่เหมาะสมจากแพทย์ได้ทันท่วงทีและลดความเสี่ยงในการเสียชีวิต
Health at home เรามีแนวคิดว่า “People don't need to go to hospital, unless they really need to” โดยเริ่มจากพัฒนาบริการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยทั้งที่บ้านและโรงพยาบาล หากท่านใดสนใจสามารถสอบถามฝ่ายบริการลูกค้าได้โดยการแอดไลน์ที่นี่ครับ นอกจากนี้เรายังมี Health at home care center ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ให้บริการตั้งอยู่ที่ ถ.ติวานนท์ จ.นนทบุรี และในปี 2021 เราพัฒนาระบบแพทย์ทางไกล Telemedicine ที่ชื่อว่า Health at work ที่จะช่วยให้การปรึกษาหมอแต่ละครั้งเป็นเรื่องง่ายอีกด้วยครับ